ยินดีต้อนรับ สู่บล็อกของ นายวรมิตร สุภาพ เอกการศึกษาปฐมวัย วิชา Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย ยินดีต้อนรับครับครับ

วันพฤหัสบดีที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10

บันทึกอนุทินครั้งที่  10
วันที่  18  มีนาคม  2558
เวลาเรียน  08:30 - 12 : 20 น.



ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
กิจกรรมที่ กิจกรรมเข้าสู่บทเรียน
การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
1.    ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด  อยากปูที่นอนเอง  อยากใส่รองเท้าเอง  การเข้าห้องน้ำด้วยตนเอง  การแต่งตัวด้วยตนเอง  แต่เด็กพิเศษไม่ค่อยมีอิสระ  เนื่องจากอยู่ในการดูแลของครู  จะทำอะไรก็อยู่ในการดูแลของครู  ดังนั้นเด็กพิเศษมักไม่มีความเป็นอิสระ
           การกินอยู่
           การเข้าห้องน้ำ               

           การแต่งตัว 
           กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน

การสร้างความอิสระ                                                               
เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง                                                           อยากทำงานตามความสามารถ                                                           เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่า และผู้ใหญ่              
       เด็กพิเศษเรียนรู้ผ่านการเลียนแบบ  ตัวแบบก็อยู่ในโรงเรียนก็คือ  ครูเป็นตัวแบบ  ถ้าอยู่ที่บ้านตัวแบบก็คือ  พ่อ  แม่  หรือผู้ใหญ่

ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
การได้ทำด้วยตนเอง                                                                       เชื่อมั่นในตนเอง                                                                             เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี
        พฤติกรรมที่ทำได้ด้วยตนเองครั้งแรก  จะมีความรู้สึกที่ดี  และเชื่อมั่นในตนเอง  พฤติกรรมการผูกเชื่อกรองเท้าได้ด้วนตนเองเป็นครั้งแรก  เด็กจะเอาไปให้ครูดู  เด็กจะแก้แล้วผูกเชื่อกรองเท้าใหม่หลายๆครั้ง  ถือเป็นความสำเร็จของเด็กครั้งแรก

หัดให้เด็กทำเอง
ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ใจแข็ง)
ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป                                                     ทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เองหากให้เวลาเขาทำ                                “ หนูทำช้า   หนูยังทำไม่ได้

จะช่วยเมื่อไหร่
เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร , หงุดหงิด , เบื่อ , ไม่ค่อยสบาย                  หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการมักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม

ทักษะการช่วยเหลือตนเอง  (อายุ 2-3 ปี)
การแต่งตัว
การกินอาหาร
การอาบน้ำและการเข้าห้องน้ำ
ทั่วไป
- ถอดเสื้อออกได้
- เปลี่ยนเสื้อได้
- อาจเลิกทำได้ง่ายๆ
- ต้องการคนช่วยเหลือแต่ก็ร่วมมือดี
- ใช้ช้อนส้อมได้
- แต่ชอบใช้มือและช้อนมากกว่า
- ป้อนอาหารที่ชอบได้เอง
- ดื่มน้ำจากแก้วได้ 
-บอกว่าจะเข้าห้องน้ำได้โดยไม่ทำเลอะก่อน
-กลั้นปัสสาวะ อุจจาระได้ 
- เปิดประตูเลื่อน หรือลูกบิดได้
- ขึ้นลงบันไดโดยเกาะราวได้
- เลื่อนเก้าอี้มารองเพื่อปีนหยิบของ 



ทักษะการช่วยเหลือตนเอง  (อายุ 3-4 ปี)
การแต่งตัว
การกินอาหาร
การอาบน้ำและการเข้าห้องน้ำ
ทั่วไป
- ถอดเสื้อได้เรียบร้อย รวดเร็ว
- ใส่เสื้อ ,ถอดกระดุม ,ซิปได้คล่อง
- เก็บเสื้อแขวนใส่ตู้ได้
- ใช้ช้อนส้อมได้คล่อง
- รินน้ำจากเหยือกใส่แก้วได้
- กินอาหารรวมกับคนอื่นในครอบครัวได้ แต่อาจอืดอาด
- ชอบอาบน้ำเอง
- เล่นน้ำในอ่างจะไม่ค่อยเลิก
- อาบไม่สะอาด
- ตื่นนอนตอนกลางวันและขอให้พาไปห้องน้ำ 
- บอกอายุ เพศ ชื่อนามสกุล ตนเองได้
- ทำตามคำสั่ง 2-3 อย่างได้
- แยกจากพ่อแม่ไปโรงเรียนได้ 



ทักษะการช่วยเหลือตนเอง  (อายุ 4-5 ปี)
การแต่งตัว
การกินอาหาร
การอาบน้ำและการเข้าห้องน้ำ
ทั่วไป
- ร้อยเชือกรองเท้าได้ (บางคนผูกได้)
- ถอดและใส่เสื้อผ้าได้โดยมีคนช่วยเล็กน้อย (หรือไม่มี) ตามชนิดเสื้อผ้า
- บอกหน้าหลังเสื้อได้ แต่อาจยังใส่ผิด
- ใช้มีด ช้อน ส้อม
- กินอาหารได้เองโดยไม่ต้องป้อน
- ผู้ใหญ่อาจคลุกหรือฉีกเนื้อให้ก่อน 
- อาบน้ำ เช็ดตัวเอง
- เข้าห้องน้ำ ล้างมือล้างก้นได้ (อาจไม่เรียบร้อยนัก) 
- เล่นกับเพื่อนบ้าน
เมื่อเรียกก็จะกลับ
- ทิ้งของเล่น ต้องเตือนให้เก็บ
- ช่วยงานบ้าน เช่น จัดโต๊ะ เทขยะ ให้อาหารสัตว์ (อาจลืมบางครั้ง) 



ทักษะการช่วยเหลือตนเอง  (อายุ 5-6 ปี)


การแต่งตัว
การกินอาหาร
การอาบน้ำและการเข้าห้องน้ำ
ทั่วไป
- ผูกเชือกรองเท้าได้
- แต่งตัวเองได้เกือบทุกขั้น
- ช่วยน้องแต่งตัวได้
- กินอาหารโดยใช้ช้อนส้อมได้ แต่มักไม่เรียบร้อย (รีบไปเล่น)
- รู้จักมารยาทในการรับประทานอาหาร แต่มักลืม
- อาบน้ำ เช็ดตัวเอง
- ไม่ค่อยสระผม
- เข้าห้องน้ำขับถ่ายได้เอง
- ไปโรงเรียน
- นำเงินไปใช้ได้เล็กน้อย
- จัดเตียงตนเอง
- เอาเสื้อใช้แล้วใส่ตะกร้า 

ลำดับขั้นในการช่วยตนอง

     แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ                                              เรียงลำดับตาม
     การย่อยงานของเด็กพิเศษ  จะต้องย่อยงานให้กับเด็กพิเศษ  การการบอกเป็นลำดับขั้น  เป็นขั้นเป็นตอน
การเข้าส้วม
     เข้าไปในห้องส้วม                                                          
     ดึงกางเกงลงมา                                                                           
     ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม                                                                  
     ปัสสาวะหรืออุจจาระ                                                                     
     ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น                                                                    
     ทิ้งกระดาษชำระในตะกร้า                                                                
     กดชักโครกหรือตักน้ำราด                                         
     ดึงกางเกงขึ้น                                                                                
     ล้างมือ                                                                                      
     เช็ดมือ                                                                                       
     เดินออกจากห้องส้วม

การวางแผนที่ละขั้น
แยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อยๆให้มากที่สุด


สรุป
     ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
     ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ
     ความสำเร็จขั้นเล็กๆนำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล
     ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง
     เด็กพึ่งตนเองได้ รู้สึกเป็นอิสระ



กิจกรรมที่ กิจกรรมบำบัดด้วยการระบายสีเป็นวงกลมชั้นๆ
       กิจกรรมบำบัดด้วยการระบายสีเป็นวงกลมชั้นๆ  เป็นกิจกรรมที่สามารถบ่งบอกอารมณ์และความรู้สึกของเด็กแต่คนได้  และสามารถบ่งบอกถึงอารมณ์ของเด็กผ่านผลงานที่ระบายด้วยสีต่างๆ  อาจารย์ให้นักศึกษาเตรียมกรรไกรมาคนละ  1 ด้าม  แล้วอาจารย์แจกกระดาษ  100 ปอนด์  1 แผ่น  ตัดแบ่งกับเพื่อน  คน  แล้วให้นักศึกษาเลือกสีตามความชอบของนักศึกษา  แล้วอาจารย์ให้นักศึกษาทำกิจกรรมพร้อมกัน  โดยการให้ใช้สีเทียนระบายเป็นรูปวงกลมตรงกลางก่อนแล้วค่อยระบายต่อกันให้เป็นวงแต่ละสี  เมื่อทำกิจกรรมเสร็จทุกคน  อาจารย์ให้นักศึกษาโชว์ผลงานของนักศึกษาขึ้น  แล้วอาจารย์บอกอารมณ์ละความรู้สึกของนักศึกษาแต่ละคนผ่านผลงานของนักศึกษา

จิตวิทยาของสีที่จะมีผลต่ออารมณ์ของผู้พบเห็นกันสีอะไรให้ความรู้สึกอย่างไรบ้าง เราจะมาดูกันตามรายละเอียดต่อไปนี้
·         สีแดง ให้ความรู้สึกอันตราย เร่าร้อน รุนแรง มั่นคง อุดมสมบูรณ์
·         สีส้ม ให้ความรู้สึกสว่าง เร่าร้อน ฉูดฉาด
·         สีเหลือง ให้ความรู้สึกสว่าง สดใส สดชื่น ระวัง
·         สีเขียว ให้ความรู้สึกงอกงาม พักผ่อน สดชื่น
·         สีน้ำเงิน ให้ความรู้สึกสงบ ผ่อนคลาย สง่างาม ทึม
·         สีม่วง ให้ความรู้สึกหนัก สงบ มีเลศนัย
·         สีน้ำตาล ให้ความรู้สึกเก่า หนัก สงบเงียบ
·         สีขาว ให้ความรู้สึกบริสุทธิ์ สะอาด ใหม่ สดใส
·         สีดำ ให้ความรู้สึกหนัก หดหู่ เศร้าใจ ทึบตัน
·         สีทองเงินและสีมันวาว แสดงถึงความรู้สึกมั่นคง
·         สีดำกับสีขาว แสดงถึงความรู้สึกทางอารมณ์ที่ถูกกดดัน
·         สีเทาปานกลาง แสดงถึงความนิ่งเฉย สงบ
·         สีเขียวแก่ผสมสีเทา แสดงถึงความสลด รันทดใจ ชรา
·         สีสดและสีบาง ๆ ทุกชนิด แสดงความรู้สึก กระชุ่มกระชวย แจ่มใส

เมื่อทำกิจกรรมเสร็จแล้วอาจารย์ให้นักศึกษาออกมาทีละคน  แล้วให้นักศึกษาเองผลงานของนักศึกษาเองมาติดหน้าชั้นเรียน  โดยอาจารย์มีลำต้นไม้ให้

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
        ความรู้ที่ได้รับในวันนี้เป็นความรู้ในด้านทักษะการช่วยเหลือตนเองของเด็ก  จะเป็นแนวทางในการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์  เพื่อให้เด็กได้มีทักษะในการช่วยเหลือตนเอง  เพราะเด็กแต่ละคนไม่เหมือนกัน  และส่งเสริมให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน  ในกิจวัตรประจำวันของเด็ก  และจะต้องบอกให้เด็กทำเป็นลำดับขั้นตอน  กิจกรรมบำบัดด้วยการระบายสีเป็นวงกลมชั้นๆ  เป็นการส่งเสริมให้เด็กมีสมาธิมากยิ่งขึ้น  ให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์  ให้เด็กอารมณ์ดี  มีความสุข  ผ่อนคลายความเครียด  เป็นกิจกรรมที่สามารถบำบัดเด็กได้จริง


ผู้สอนได้ใช้เทคนิคในการสอน
         1. ผู้สอนใช้เทคนิคการจัดโต๊ะเป็นตัว   ในการสอนในชั้นเรียนเพื่อให้เห็นเด็กนักศึกษาครบทุกคนและสามารถเดินหาเด็กได้ทุกคน
         2. อาจารย์ให้เตรียมกรรไกรคน 1 ด้ามเพื่อทำกิจกรรม  (กิจกรรมบำบัดด้วยการระบายสีเป็นวงกลมชั้นๆ )
         3. ผู้สอนให้เรียนรอบบ่ายโมง  รวมกับเพื่อนกลุ่มบ่าย

การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการสอน
         1.โปรแจคเตอร์
         2.ไมโคโฟน
         3.คอมพิวเตอร์  PC
         4. Microsoft  Office  PowerPoint  (การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ  (ทักษะการช่วยเหลือตนเอง) )

การประเมินในชั้นเรียน

       ประเมินตัวเอง
                  วันนี้ผมแต่งกายเรียนร้อย  ถูกระเบียบเหมือนทุกๆวัน  ตามข้อตกลงของห้องเรียน  มาเรียนตรงต่อเวลา  ไม่เคยมาเรียนสาย  วันนี้ตั้งใจเรียนตั้งใจจดเนื้อหาเพิ่มเติมจากอาจารย์ที่นอกเหนือจาก  Power  Point  และตั้งใจฟังอาจารย์ทุกประการ  ตั้งใจฟังคำสั่งของอาจารย์ในการทำกิจกรรมศิลปะบำบัดอย่างตั้งใจ และเลือกสีที่ตนเองชอบในการทำกิจกรรม

       ประเมินเพื่อน
             วันนี้เพื่อนเรียนรวมกัน  ห้อง  เพื่อนมาเรียนสายไม่กี่คน  แต่งกายเรียบร้อยเกือบ  100 %  และมีแต่งกายไม่เรียบร้อยไม่กี่คน  วันนี้เรียนรวมกันทั้ง  ห้อง  ก็มีเพื่อนคุยเป็นบางคนที่ไม่ฟังอาจารย์ในการบรรยายและให้ความรู้เพิ่มเติม  เพื่อนกลุ่มบ่ายตั้งใจเรียนมากไม่คุยกันในเวลาเรียนถือว่าเป็นเรื่องดี  เพื่อให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมของห้องเรียนเป็นอย่างดี  และให้ความร่วมมือในการตอบคำถามของอาจารย์ 

       ประเมินอาจารย์
              วันนี้อาจารย์นัดเรียนรวมกับเพื่อนกลุ่มบ่าย  วันนี้ร้อนมาก  อาจารย์แต่งกายเรียบร้อย  ให้ความรู้มากมาย  และกิจกรรมก่อนเข้าสู่บทเรียนก่อนเข้าเรียนเพื่อให้นักศึกษาผ่อนคลายความเครียดก่อนเข้าสู่บทเรียน  อาจารย์สอนด้วยและยกตัวอย่างให้นักศึกษาได้ฟังเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจมากขึ้น  กิจกรรมวันนี้สุนกมากกับการทำกิจกรรมศิลปะบำบัด  เป็นกิจกรรมที่คลายความเครียด  และเป็นกิจกรรมที่สามารถบอกถึงความรู้สึกของเด็กแต่ละคนได้เป็นอย่างดี  ขอขอบคุณความรู้จากอาจารย์ที่ได้รับอย่างมากในวันนี้  ขอบคุณครับ