ยินดีต้อนรับ สู่บล็อกของ นายวรมิตร สุภาพ เอกการศึกษาปฐมวัย วิชา Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย ยินดีต้อนรับครับครับ

วันศุกร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

บันทึกอนุทินครั้งที่  6
วันที่  18  กุมภาพันธ์  2558
เวลาเรียน  08:30 - 12 : 20 น.

ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
        กิจกรรมที่ รถไฟเหาะแห่งชีวิตและม้าหมุน
        คุณเดินเข้าประตูสวนสนุก  และเห็นรถไฟเหาะอยู่ตรงหน้า  โดยมีคนเข้าแถวเพื่อขึ้นรถไฟเหาะอยู่  คุณจะรออยู่ในแถวนานเท่าไหร่  ?
        ในที่สุดก็ถึงตาคุณแล้ว  ขณะที่คุณกำลังหมุนและขึ้นลงไปตามราง  ความเร็วทำให้คุณรู้สึกอะไร  ?
        จุดที่ตื่นเต้นที่สุดของรถไฟเหาะนี้ก็คือ  เวลาที่รถไฟพุ่งดึ่งลงไปในสระน้ำ  คุณเปียกโชกไปด้วยน้ำที่กระเซ็นเข้ามา  ?
        รถไฟเหาะที่คุณพึ่งเล่นมานั้นนับว่าตื่นเต้นไม่เบา  แต่มันอาจจะดีได้มากกว่านั้น  ถ้าคุณสามารถออกแบบรถไฟเหาะที่สมบูรณ์แบบ
        สำหรับตัวคุณเอง  คุณจะออกแบบเส้นทางของรถไฟเหาะอย่างไร  ?
หมายเหตุ  วาดรูปโดยละเอียด
        คุณตัดสินใจที่จะเล่นม้าหมุนต่อ  แต่ขณะที่คุณกำลังนั่งอยู่บนม้าหมุนนั้น  ม้าตัวที่คุณนั่งเกิดขัดข้องและหยุดหมุนขึ้นมากะทันหัน  คุณจะพูดกับม้าตัวนั้นว่าอย่างไร  ?
        หลังจากนั้นอาจารย์ก็เฉลยคำตอบจากกิจกรรม


กิจกรรมที่ กิจกรรมเข้าสู่บทเรียน
การส่งเสริมทักษะต่างของเด็กพิเศษ
ทักษะที่จำเป็นต่อเด็กพิเศษ  ได้แก่  ทักษะทางสังคม  ทักษะการใช้ชีวิต  ทักษะทางภาษา  ทักษะการช่วยเหลือตนเอง

1.    ทักษะทางสังคม
เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม  ไม่ได้มีสาเหตุมาจากพ่อแม่
การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข
เด็กออทิสติก  ขากทักษะทางสังคมมาก
ทักษะทางสังคมจะดีหรือไม่ดีอยู่ที่ตัวเด็ก  สภาพแสดล้อมมีผลเพียงนิดเดียว
ควรส่งเสริมเน้นที่ตัวเด็กพิเศษ
กิจกรรมการเล่น
        การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
        เด็กจะสนใจตัวเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ
        ในช่วงแรกๆ  เด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน  แต่เป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ  สัมผัส  ผลัก  ดึง

ยุทธศาสตร์การสอน
        เด็กพิเศษหลายคนไม่รู้จักวิธีเล่น  ไม่รู้ว่าจะเล่นอะไร
        ครูเริ่มจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
        จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง
        ครูจดบันทึก  อย่างลืมจดบันทึกอย่างเป็นระบบ  อย่างต่อเนื่อง
        ทำแผน  IEP

การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
        การวางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง  ต้องมีกิจกรรมหลายๆ  อย่างเด็กจะมีทางเลือกที่จะเล่นตามความสนใจของเด็ก  เด็กพิเศษจะเลือกกิจกรรมที่เขาสนใจมากที่สุดและกิจกรรมทุกกิจกรรมจะต้องคำนึงถึงตัวเด็ก
        คำนึงถึงเด็กทุกๆคน
        ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ  2 – 4 คน
        เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน  ครู”  ให้เด็กพิเศษ
        ปกติด้วยในการจัดกิจกรรม  เด็กพิเศษครูมีหน้าที่ให้การเสริมแรง

ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
        อยู่ใกล้ๆ  และเฝ้ามองอย่างสนใจ
        ยิ้มและพยักหน้าให้  ถ้าเด็กหันมาหาครู
        ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป
        เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม  เพื่อยืดเวลาการเล่น
        ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม
ไม่ควรให้อุปกรณ์การเล่นเท่ากับจำนวนเด็ก
 
การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
        ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน
        ทำโดย  การพูดนำของครู

ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์
        ไม่ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ
        การให้โอกาสเด็ก
        เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่างๆเหมือนเพื่อนในห้อง  ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กพิเศษเป็นเครื่องต่อรอง

POST  TEST
       ครูสามารถสิ่งเสริมทักษะทางสังคมในห้องเรียนรวมได้อย่างไรบ้าง
 
กิจกรรมที่ กิจกรรมดนตรีบำบัดด้วยจุด

       กิจกรรมดนตรีบำบัดด้วยจุดเป็นกิจกรรมที่บำบัดได้จริงกับเด็กพิเศษ  อาจารย์ให้จับครูกับเพื่อน  โดยให้  คนเป็นคนวาดเส้น  และให้อีกคนเป็นคนทำจุด  โดยผู้วาดนั้นจะต้องวาดอย่างต่อเนื่องโดยไม่หยุดไม่ยกมือ  โดยให้คนที่จุดทำจุดในเส้นที่เป็นวงกลมทุกวง  เมื่อเพลงจบให้หยุดทันที  แล้วให้จินตนาการรูปภาพจากผลงาน  แล้วระบายสี



กิจกรรมที่ กิจกรรมร้องเพลงสำหรับเด็ก 
(เพลง  ดวงอาทิตย์)
ยามเช้าตรู่อาทิตย์ทอแสงทอง
เป็นประกายเรืองรอง   ผ่องนภา
ส่องสว่างไปทั่วแหล่งหล้า  บ่งเวลาว่ากลางคืน
ผู้แต่ง  อ.ศรีนวล  รัตนสุวรรณ

(เพลง  ดวงจันทร์)
ดวงจันทร์ทอแสงนวลใย
สุกใสอยู่ในท้องฟ้า
เราเห็นดวงจันทรา
แสงพราวตาเวลาค่ำคืน
ผู้แต่ง  อ.ศรีนวล  รัตนสุวรรณ



(เพลง  ดอกมะลิ)
ดอกมะลิ  กลีบขาวพราวตา
เก็บเอามาร้อยเป็นมาลัย
บูชาพระทั้งใช้ทำยาก็ได้
ลอยในน้ำ  อบขนมหอมชื่นใจ
ผู้แต่ง  อ.ศรีนวล  รัตนสุวรรณ

(เพลง  ดอกกุกลาบ)
กุหลาบงาม  ก้านหนามแหลมคม
จะเด็ดดมระวังกายา
งามสดสีสมเป็นดอกไม้มีค่า
เก็บเอามาประดับไว้ในเจกัน
ผู้แต่ง  อ.ศรีนวล  รัตนสุวรรณ


(เพลง  นกเขาขัน)
ฟังสิฟังนกเขาขันมันขยันขันคู
ฟังสิฟังนกเขาขันมันขยันขันคู
จุ๊กกรู  จุ๊กกรู  จุ๊กกรู  จุ๊กกรู  จุ๊กกรู
ผู้แต่ง  อ.ศรีนวล  รัตนสุวรรณ



(เพลง  รำวงดอกมะลิ)
รำวง  รำวง  ร่วมใจ
หอมดอกมะลิที่ร้อยมาลัย
กลิ่นหอมตามลมไปไกล
หอมกลิ่นชื่นใจ  จริงเอย
ผู้แต่ง  อ.ศรีนวล  รัตนสุวรรณ



การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
        ความรู้ที่ได้รับในวันนี้หากไม่นำไปใช้จะไม่เกิดประโยชน์อันใดต่อเด็กในอนาคต  เพราะว่าถ้าไม่นำความรู้ที่ได้รับมาไปปฏิบัติใช้  จะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใดต่อสังคมเลย  ผู้ศึกษาจะนำความรู้ที่ได้รับในวันนี้ไปใช้ในอนาคตข้างหน้าในการปฏิบัติการสอน  เพื่อพัฒนาและส่งเสริมเด็กปกติและเด็กพิเศษให้ได้ผลมากที่สุด  การส่งเสริมทักษะทางสังคมเป็นทักษะที่สำคัญที่สุดของเด็กพิเศษ ในการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนและคุณครู  และการนำกิจกรรมหลายๆกิจกรรมมาจัดกิจกรรมให้กับเด็กให้เด็กเลือกกิจกรรมตามความสนใจของเด็ก และต้องส่งเสริมทักษะทางสังคมให้เด็กมากที่สุด ฃเพลงและนันทนาการเป็นสิ่งสำคัญในการทำกิจกรรมต่างๆ  และสามารถส่งเสริมให้เด็กมีทักษะทางสังคมได้เป้นอย่างดี กิจกรรมนันทนาการเป็นกิจกรรมที่ให้เด็กได้ผ่อนคลายความเครียดให้เด็กได้ร้อง  ได้เต้น  ได้กล้าแสดงออกและมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนและคุณครู

ผู้สอนได้ใช้เทคนิคในการสอน
         1. ผู้สอนใช้เทคนิคการจัดโต๊ะเป็นตัว   ในการสอนในชั้นเรียนเพื่อให้เห็นเด็กนักศึกษาครบทุกคนและสามารถเดินหาเด็กได้ทุกคน
         2. อาจารย์ให้จับคู่กับเพื่อนทำกิจกรรม  (กิจกรรมดนตรีบำบัดด้วยจุด)
         3. ผู้สอนร้องนำ  แล้วให้นักศึกษาร้องเพลงร่วมกัน

การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการสอน
         1.โปรแจคเตอร์
         2.ไมโคโฟน
         3.คอมพิวเตอร์  PC
         4. Microsoft  Office  PowerPoint  (การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ  (ทักษะทางสังคม) )
          5. ดนตรี  (กิจกรรมดนตรีบำบัดด้วยจุด)


การประเมินในชั้นเรียน


       ประเมินตัวเอง
        วันนี้ผมแต่งกายเรียนร้อย  ถูกระเบียบเหมือนทุกๆวัน  ตามข้อตกลงของห้องเรียน  มาเรียนตรงต่อเวลา  ไม่เคยมาเรียนสาย  กิจรรมที่  เป็นกิจกรรมที่มีความสุขมากก่อนเข้าสู่บทเรียนเพื่อให้นักศึกษาได้ผ่อนคลายความเครียดก่อนข้าสู่บทเรียน  ต่อด้วยกิจกรรมที่เป็นกิจกรรมเข้าสู่บทเรียน  เป็นกิจกรรมที่ให้ความรู้เกี่ยวกับเด็กพิเศษเรียนรวม  ได้รับความรู้อย่างมาก  ตั้งใจฟังอาจารย์บรรยาย  และให้ความรู้เพิ่มจากเนื้อหา  มีส่วนร่วมในการตอบคำถามของอาจารย์เป็นอย่างดี  ต่อมาด้วยกิจกรรมที่  เป็นกิจกรรมที่สามารถบำบัดได้จริงและเป็นกิจกรรมที่สามารถทำให้นักศึกษาผ่อนคลายความเรียนได้จริง  ด้วยเพลงเบาๆ  ในการทำกิจกรรมเพื่อการบำบัด  และยังส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์  และจินตนาการของเด็กอีกด้วยในการทำกิจกรรม  กิจกรรมที่ เป็นกิกรรมที่มีความสุขมากในการร้องเพลงทำให้เราได้ฝึกร้องเพลงอย่างถูต้อง  วันนี้เรียนมีความสุขมาก





       ประเมินเพื่อน
               วันนี้เพื่อนก็มาเรียนสายไม่กี่คน  เพื่อนตั้งใจทำกิจกรรม  และตั้งใจฟังอาจารย์บรรยายให้ความรู้เพิ่มเติมเป็นอย่างดี  และยังมีเพื่อนที่ไม่ตั้งใจฟังอาจารย์อยู่ส่วนน้อยถือเป็นสิ่งที่ไม่ดีไม่ควรเอาเป็นเยี่ยงอย่าง  เพื่อตั้งใจทำกิจกรรมเป็นอย่างดี  เพื่อนทำกิจกรรมบำบัดด้วยจุดได้สวยทุกกลุ่ม  มีความคิดสร้างสรรค์  มีจินตนาการดี  และเพื่อนๆยังช่วยกันร้องเพลงอย่างมีความสุข






ประเมินอาจารย์

              วันนี้อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อยเหมือนทุกๆวัน  ทุกกิจกรรมที่อาจารย์นำมาให้ทำเป็นกิจกรรมที่มีความหมาย  มีความรู้  และความรู้ที่ได้รับสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์อันสูงสุดได้  กิจกรรมนั้นร้องเพลงและนันทนาการเป็นกิจกรรมที่ทำให้ผ่อนคลายความเครียดและส่งเสริมทักษะทางสังคมได้  คอบคุณครับ


วันพฤหัสบดีที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

บันทึกอนุทินครั้งที่  5
วันที่  11  กุมภาพันธ์  2558
เวลาเรียน  08:30 - 12 : 20 น.


ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
        กิจกรรมที่ สเก็ตมือที่อยู่กับเรามาตั้งแต่เกิด

                เช้าวันนี้อาจารย์มีกิจกรรมตั้งแต่เช้า  วันนี้อาจารย์แจกถุงมือให้นักศึกษาคนละ 1 ข้าง  แล้วให้นักศึกษาสวมถุงมือด้านซ้ายมือ  แล้วอาจารย์ถามว่าตั้งแต่เกิดจำอะไรในมือได้หรือเปล่า  ว่ามืออยู่กับเรามากี่ปี  เราจำได้ไหม  หลังจากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาสเก็ตภาพมือซ้ายของตนเอง  ที่อยู่ในถุงมือ  ให้สเก็ตมือตัวเองให้เหมือนมากที่สุด  มีแผลเป็นตรงไหน  รอยย่นตรงไหม  ให้สเก็ตเหมือนมากที่สุด

กิจกรรมที่ กิจกรรมเข้าสู่บทเรียน
        การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ  (เทคนิคของความเป็นครู)
              ทักษะของครูและทัศนะคติ  ต้องมองเด็กให้เป็นเด็ก  ต่อให้น้องเป็นเด็กดาวน์ซินโดรมก็ตามจะต้องมองว่าเป็นเด็กปกติเหมือนกันทุกคน
        ความเข้าใจภาวะปกติ
                เด็กเหมือนกันมากกว่าที่จะแตกต่างกัน  ครูต้องเรียนรู้และมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กปกติและเด็กพิเศษ  ต้องรู้จักเด็กแต่ละคน  มองเด็กให้เป็นเด็ก”  ต้องจำเด็กให้ได้ทุกคน  ชื่อเล่น,ชื่อจริง
        การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า
                การเข้าใจพัฒนาการของเด็ก  จะช่วยให้ครูสามารถมองเห็นความแตกต่างของเด็กแต่ละคนได้ง่าย
        ความพร้อมของเด็ก
                วุฒิภาวะ  เด็กค่อนข้างเหมือนกันที่จะแตกต่างกัน
                แรงจูงใจ  แรงจูงใจของเด็กแตกต่างกัน
                โอกาส    โรงเรียนต้องมีขีดจำกัดน้อย  เด็กจะได้รับโอกาสมากขึ้น
      
  การสอนเด็กโดยบังเอิญ
                ให้เด็กเป็นฝ่ายเริ่ม  เด็กเข้าหาครูมากเท่าไหร่ยิ่งมีโอกาสในการสอนมากขึ้นเท่านั้น
        ครูต้องพร้อมที่จะพบเด็ก  ครูต้องมีความสนใจเด็ก  ครูต้องมีความรู้สึกที่ดีต่อเด็ก  ครูต้องมีอุปกรณ์และกิจกรรมล่อใจเด็ก  ครูต้องมีความตั้งใจจริงในการช่วยให้เด็กแต่ละคนได้เรียนรู้  ครูต้องใช้เวลาในการติดต่อไม่นาน  ครูต้องทำให้เป็นเรื่องสนุกสนาน
        อุปกรณ์
                มีลักษณะง่ายๆ  ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง  เด็กพิเศษได้เรียนรู้จากการสังเกตและการเลียนแบบเด็กปกติ  เด็กปกติเรียนรู้ที่จะให้ความช่วยเหลือเด็กพิเศษ  และห้องเรียนรวมไม่ควรมีสื่อที่แบ่งแยกประเภทเด็ก  และแยกเพศ
        ตารางประจำวัน
เด็กพิเศษไม่สามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ทำอยู่เป็นประจำ  กิจกรรมต้องเรียงลำดับเป็นขั้นตอนและทำนายได้  เด็กจะรู้สึกปลอดภัยและมั่นใจ  การสลับกิจกรรมที่อยู่เงียบๆกับกิจกรรมที่เคลื่อนไหวมากๆ  ควรคำนึงถึงความพอเหมาะของเวลา
        ตัวอย่างกิจวัตรประจำวัน
                รับเด็กและตรวจสุขภาพ
                เคารพธงชาติ
                กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
                กิจกรรมเสรี
                กิจกรรมเสริมประสบการณ์  (หน่วยไก่)
                กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์  (หน่วยไก่)
                กิจกรรมดนตรี
                กิจกรรมกลางแจ้ง
                กิจกรรมเสรี
                รับประทานอาหารกลางวัน
                ลางหน้าแปรงฟัน
                นอนพักผ่อนร่างกาย
                ตื่นนอน  ล้างหน้า  แปรงฟัน
                 ดื่มนม
                กลับบ้าน

                                        ความยืดหยุ่น
                การแก้แผนการสอนให้เหมาะสมกับสถานการณ์  ยอมรับขอบเขตความสามารถของเด็ก  ครูตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กแต่ละคน  เช่น  พฤติกรรมการเล่นคนเดียวของเด็กออทิสติก  การเรียงลำดับความสำคัญของเด็กออทิสติกควรแก้ไขพฤติกรรมที่หนักสุดของเด็กออทิสติกก่อน
        การใช้สหวิทยาการ
                ใจกว้างต่อคำแนะนำของบุคคลในอาชีพอื่นๆ  สร้างความสัมพันธ์ระหว่างการบำบัดกับกิจกรรมในห้องเรียน  กิจกรรมที่บำบัดเด็กพิเศษ  เช่น  กิจกรรมร้องเพลง  กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและการเรียนรู้
        เด็กทุกคนสอนได้
                        สำหรับครู  เด็กส่วนมากเด็กเรียนไม่ได้เพราะขาดโอกาส
เทคนิคในการให้เสริมแรง
       เสริมแรงทางสังคมจากผู้ใหญ่
                        เด็กพิเศษชอบให้คุณครูเสริมแรงด้วยการชม  ความสนใจของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็กนั้นสำคัญมาก  มีแนวโน้มจะเพิ่มพฤติกรรมที่ดีต่อเด็ก  และมักเป็นผลในทันที  หากผู้ใหญ่ไม่สนใจพฤติกรรมที่ดีนั้นๆ  ก็จะลดลงและหายไป
        วิธีการแสดงออกถึงแรงเสริมจากผู้ใหญ่
                ตอบสนองด้วยวาจา  การยืนหรือนั่งใกล้เด็ก  พยักหน้ารับ  ยิ้ม  ฟัง  สัมผัสทางกายด้วยการจับและกอดเด็ก  ให้ความช่วยเหลือและร่วมกิจกรรมกับเด็ก
        หลักการให้เสริมแรงในเด็กปฐมวัย
                ครูต้องเสริมแรงทันทีที่เด็กมีพฤติกรรมอันพึงประสงค์  ครูต้องละเว้นความสนใจทันทีและทุกครั้งที่เด็กแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์  ครูควรให้ความสนใจเด็กนานเท่าที่เด็กมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์
        การแนะนำหรือบอกบท
           การย่อยงาน  ลำดับความยากง่ายของผลงาน  การลำดับงานเป็นการเสริมแรงเพื่อให้เด็กค่อยๆก้าวไปสู่ความสำเร็จ  การบอกบทจะค่อยๆน้อยลงตามลำดับ
        
       ขันตอนการเสริมแรง
                สังเกตและกำหนดจุดมุ่งหมาย  วิเคราะห์งาน  กำหนดจุดประสงค์ย่อยๆในงานแต่ละชิ้น  สอนจากง่ายไปยาก  ให้แรงเสริมทันทีเมื่อเด็กทำได้  หรือเมื่อเด็กพยายามอย่างเหมาะสม  ลดการบอกบท  เมื่อเด็กเรียนรู้ที่จะก้าวไปขั้นต่อไป  ให้แรงเสริมเฉพาะพฤติกรรมที่ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่สุด  ทำทีละชื้น  ไม่เร่งรัด  ยิ่งชิ้นเล็กเท่าไหร่  ยิ่งดีเท่านั้นไม่ควรดุหรือตี
        การกำหนดเวลา
                จำนวนและความถี่ของแรงเสริมที่ให้กับพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กต้องมีความเหมาะสม
                                  ความต่อเนื่อง
                พฤติกรรมทุกอย่างในชีวิตประจำวันต่อเนื่องกันระหว่างพฤติกรรมย่อยๆหลายๆอย่างรวมกัน  เช่น  การเข้าห้องน้ำ  การนอนผักผ่อน  การหยิบและการเก็บของ  การกลับบ้าน
สอนแบบก้าวไปข้างหน้า  หรือย้อนมาจากข้างหลัง
     
            เด็กตักซุป
                การจับซ้อน  การตัก  การระวังไม่ให้น้ำซุปในช้อนหกก่อนจะเข้าปาก  >  การเอาช้อนและซุปเข้าปากแทนที่จะทำให้หกรดคาง  การเอาซุปออกจากซ้อนเข้าสู่ปาก  การลดหรือหยุดแรงเสริม
                ครูจะงดแรงเสริมกับเด็กที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม  ทำอย่างอื่นและไม่สนใจเด็ก  เอาอุปกรณ์หรือของเล่นออกไปจากเด็ก  เอาเด็กออกจากการเล่น

กิจกรรมที่ กิจกรรมร้องเพลงสำหรับเด็ก
(เพลง  ฝึกกายบริหาร)
ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายแข็งแรง
ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายแข็งแรง
รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว
รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว
ผู้แต่ง  อ.ศรีนวล  รัตนสุวรรณ


(เพลง  ผลไม้)
ส้มโอ  แตงโม  แตงไทย
ลิ้นจี่  ลำไย  องุ่นพุทรา
เงาะ  ฝรั่ง  มังคุด
กล้วย  ละมุด  น้อยหนา
ขนุน  มะม่วง  นานาพันธุ์
ผู้แต่ง  อ.ศรีนวล  รัตนสุวรรณ

(เพลง  กินผักกัน)
กินผักกันเถอะเรา
บวบ  ถั่วฝักยาว  ผักกาดขาว  แตงกวา
คะน้า  กวางตุ้ง  ผักบุ้ง  โหระพา
มะเขือเทศสีดา  ฟักทอง  กะหล่ำปลี
ผู้แต่ง  อ.ศรีนวล  รัตนสุวรรณ


(เพลง  ดอกไม้)
ดอกไม้ต่างพันธุ์  สวยงามสดสี
เหลือง  แดง  ม่วงมี  แสด  ขาว  สมพู
ผู้แต่ง  อ.ศรีนวล  รัตนสุวรรณ

(เพลง  จ้ำจี้ดอกไม้)
จ้ำจี้ดอกไม้  ดาวเรือง  หงอนไก่
จำปี  จำปา  มะลิ  พิกุล
กุหลาบ  ชบา  บานชื่น  กระดังงา
เข็ม  แก้ว  ลัดดา  เฟื้องฟ้า  ราตรี
ผู้แต่ง  อ.ศรีนวล  รัตนสุวรรณ


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
        ความรู้ที่ได้รับในวันนี้หากไม่นำไปใช้จะไม่เกิดประโยชน์อันใดต่อเด็กในอนาคต  ความรู้ที่ได้รับในวันนี้ถือเป็นประโยชน์ต่อตนเองในการพัฒนาเด็ก  ความรู้จากกิจกรรมสเก็ตภาพมือของตนเองถือว่าเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ให้ความรู้มากมายเลยที่เดียว  กิจกรรมต่อมาได้รับความรู้เป็นอย่างมากและได้รับประสบการณ์ตรงจากอาจารย์  เทคนิคของครูในการสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ  ในการเรียนรวม  ครูจะต้องมองเด็กให้เป็นเด็กเหมือนกับเด็กทั่วไป  ไม่แบ่งแยก  จะนำความรู้ที่ได้รับในวันนี้ไปพัฒนาและส่งเสริมเด็กพิเศษให้เด็กมีพัฒนาการที่เหมาะสมกับวัย  ไม่ว่าภายภาคหน้าในการเป็นครูอนุบาลจะเจอเด็กพิเศษเรียนรวมกับเด็กปกติหรือไม่  แต่หน้าที่ของการเป็นครูจะต้องพัฒนาตัวเด็กให้เหมาะสมกับวัย  ให้มีความรู้และสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้เหมือนเด็กปกติทั่วไป  ให้สังคมสามารถยอมรับเด็กพิเศษเหล่านี้ให้เป็นเด็กปกติทั่วไป  เขาจะได้มีกำลังใจมากขึ้น  ขอบคุณครับ


ผู้สอนได้ใช้เทคนิคในการสอน
         1. ผู้สอนใช้เทคนิคการจัดโต๊ะเป็นตัว   ในการสอนในชั้นเรียนเพื่อให้เห็นเด็กนักศึกษาครบทุกคนและสามารถเดินหาเด็กได้ทุกคน
         2. อาจารย์ให้สเก็ตภาพมือของตนเอง  โดยการสวมถุงมือในการสเก็ตมือที่อยู่ข้างใน  (กิจกรรมรายบุคคล)
         3. ผู้สอนร้องนำ  แล้วให้นักศึกษาร้องเพลงร่วมกัน

การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการสอน
         1.โปรแจคเตอร์
         2.ไมโคโฟน
         3.คอมพิวเตอร์  PC
         4. Microsoft  Office  PowerPoint  (การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ)      

การประเมินในชั้นเรียน

                                    ประเมินตัวเอง
                  วันนี้ผมแต่งกายเรียนร้อย  ถูกระเบียบเหมือนทุกๆวัน  ตามข้อตกลงของห้องเรียน  มาเรียนตรงต่อเวลา  ไม่เคยมาเรียนสาย  กิจรรมที่  ในวันนี้กิจกรรมสเก็ตภาพมือที่อยู่ในถุงมือให้เหมือนมาก  ต่อมาด้วยกิจกรรมที่  กิจกรรมเข้าสู่บทเรียนผมตั้งใจฟังอาจารย์สอนและอธิบายเนื้อหาเพิ่มเติมจดทุกครั้งที่อาจารย์อธิบายเพิ่มเติม  ให้ความร่วมมือในการตอบคำถามของอาจารย์  วันนี้เพื่อนภาคนอกเวลาก็มาเรียนด้วย  เรียนรวมก็มีความสุขดี  สร้างสีสันอีกแบบหนึ่ง  วันนี้เรียนมีความสุขมีความรู้เพิ่มเติมอีกมากมายจากบทเรียนในวันนี้  ขอบคุณอาจารย์ที่ให้ความรู้และประสบการณ์ตรงในห้อเรียนขอบคุณครับ


       ประเมินเพื่อน
               วันนี้เรียนรวมทั้ง  ห้อง  นักศึกษาภาคปกติและภาคพิเศษ  วันนี้เพื่อนมาเรียนน้อย  เพราะขาดเรียนเยอะ  ถึงวันนี้เพื่อจะมาเรียนน้อยแต่ความรู้ยังได้รับเยอะเหมือนเดิม  เพื่อแต่กายเรียบร้อย  ด้วยชุดโปโลสีชมพูทุกคน  เพื่อตั้งใจทำกิจกรรมที่  เป็นอย่างดี  และทำตามกฎระเบียบของห้องเรียนเป็นอย่างดี  ทำตามกฎกิจกรรมเป็นอย่างดี  กิจกรรมแรกเป็นกิจกรรมเรียกเสียงหัวเราะได้เป็นอย่างดี  หลังจากทำกิจกรรมเสร็จอาจารย์ให้ความรู้เพิ่มเติม  เพื่อนตั้งใจจดและตั้งใจฟังการให้ความรู้เพิ่มเติมจากอาจารย์  เพื่อตั้งใจทำกิจกรรมร้องเพลงนันทนาการร่วมกันทั้งห้องเป็นอย่างดี  ขอบคุณครับ


      ประเมินอาจารย์

              วันนี้อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อยเหมือนทุกๆวัน  กิจกรรมแรกที่อาจารย์นำมาให้นักศึกษาได้ทำเป็นกิจกรรมที่ได้รับความรู้จาก  จากกิจกรรมการสเก็ตภาพมือของนักศึกษา  แต่ไม่ได้เป็นกิจกรรมที่วาดภาพเหมือนเพียงอย่างเดียวแต่เป็นหมายเปรียบเสมือนตัวเด็ก  กิจกรรมเข้าสูบทเรียนอาจารย์ก็ยังให้ความรู้มากมายและประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาของนักศึกษา  และให้ความรู้เพิ่มเติมนอกเหนือจากบทเรียนเรียนอีกมากมาย  อาจารย์ร้องเพลงเด็กเพราะมาก  ขอบคุณอาจารย์ที่ทำให้รู้จักเพลงที่ไม่เคยได้ยินและเพลงที่เคยได้ยินเป็นประมากต่อนักศึกษาในอนาคต  ขอขอบคุณครับ