วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย EAED3214 3(2-2-5) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557
วันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2558
บันทึกกอนุทินครั้งที่ 16
บันทึกอนุทินครั้งที่ 16
วันที่ 1 พฤษภาคม 2558
เวลาเรียน 08:30 - 12 : 20 น.
ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
บรรยากาศในการเรียนวันสุดท้าย
วันนี้อาจารย์นัดให้นักศึกษาสอบร้องเพลงสำหรับเด็กปฐมวัย
วันนี้จับสลากได้เพลง
เพลง ลุงมาชาวนา
ลุงมา ชาวนา เลี้ยงวัว เลี้ยงควาย
เอา ไว้ใช้ ไถนา
ลุงมา ชาวนา เลี้ยงหมา เลี้ยงแมว
ไว้ เป็นเพื่อน ลุงมา
* หมาก็เห่า บ๊อก บ๊อก
แมวก็ร้อง เมี๊ยว เมี๊ยว
ลุงมา ไถนา วัวร้อง มอ มอ
ผู้แต่ง อ.ศรีนวล รัตนสุวรรณ
สอบร้องเพลงได้
5 คะแนน
บรรยากาศในการเรียนวันนี้มีความสุขมาก ได้ทั้งเสียงหัวเราะ
ความสนุก ความสุขของเพื่อนๆ วันนี้เพื่อนๆสอบอย่างมีความสุข
อาจารย์ก็ใจดีมาก วันนี้อาจารย์แจกของขวัญสำหรับเด็กดีด้วย
ผมคือ 1 ในนั้นที่ได้รับรางวัลเด็กดี
ด้วยคะแนน 16 ดวง
อาจารย์ให้นักศึกษาสอบอย่างมีความสุข
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
ความรู้ที่ได้รับจากการร้องเพลงของเพื่อนและทำนองจังหวะของอาจารย์ จะนำประสบการณ์ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการสอนเด็ก และการเก็บเด็ก สามารถนำเพลงไปร้องในกิจกรรมต่างๆ เพลงแต่ละกิจกรรมให้สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้ และเพลงสามารถนำไปสอดแทรกกิจกรรมได้ กิจกรรมนันทนาการร้องเพลงก็สามารถบำบัดเด็กพิเศษได้ จะนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับตัวเด็กมากที่สุด
ผู้สอนได้ใช้เทคนิคในการสอน
1. ผู้สอนใช้เทคนิคในการสอบร้องเพลงสำหรับเด็กปฐมวัย ด้วยการจับสลากหมายเลขของนักศึกษา แล้วให้นักศึกษาจับสลากเพลงเอง
3. อาจารย์ให้นักศึกษาสอบร้องเพลงเดี่ยวหน้าชั้นเรียน
การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการสอน
1. ไมโคโฟน
การประเมินในชั้นเรียน
วันนี้ผมแต่งกายเรียนร้อย ถูกระเบียบเหมือนทุกๆวัน ตามข้อตกลงของห้องเรียน มาเรียนตรงต่อเวลา วันนี้เป็นวันสอบร้องเพลงสำหรับเด็กปฐมวัย วันนี้เครียมความพร้อมในการร้องเพลงมาเป็นอย่างดี จำมาทุกเพง ร้องได้ทุกเพลง เพื่อให้การสอบในครั้งนี้ได้คะแนนดี
ประเมินเพื่อน
วันนี้เพื่อนเตรียมความร้อมในการสอบร้องเพลงสำหรับเด็กปฐมวัยมาเป็นอย่างดี เพื่อนตั้งใจร้องเพลงในการสอบครั้งนี้มาก ในการสอบวันนี้ได้ทั้งเสียงหัวเราะของเพื่อน ได้ทั้งความสุข ความสนุกสนาน วันนี้เพื่อนในห้องสอบกันอย่างมีความสุข
ประเมินอาจารย์
วันนี้อาจารย์นัดสอบร้องเพลงสำหรับเด็กปฐมวัย วันนี้มีความสุขมาก อาจารย์ให้สอบเดี่ยววันนี้เห็นอาจารย์ยิ้ม หัวเหราะ อย่างมีความสุขในการได้ฟังเพลงของห้องเรา วันนี้อาจารย์แจกของรางวัลให้กับนักศึกษาด้วย รางวัลเด็กดี อาจารย์ให้ความรู้มาโดยตลอด ให้ทั้งความรัก ความสุข อาจารย์เป็นพ่อแม่คนที่ 2 ที่ให้ความรักความอบอุ่นทุกครั้ง อาจารย์ให้คำแนะนำและเป็นที่ปรึกษาที่ดีมาโดยตลอดรักตลอดไป 1 ในร้อย
บันทึกอนุทินครั้งที่ 15
บันทึกอนุทินครั้งที่ 15
วันที่ 22 เมษายน 2558
เวลาเรียน 08:30 - 12 : 20 น.
ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
กิจกรรมที่
2 เข้าสู่บทเรียน
โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล แผน IEP
แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน
และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา
ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
โดยระบุเวลาเริ่มต้นให้และสิ้นสุดในการใช้แผนและวิธีการวัดและประเมินผลเด็ก (ควรระบุให้ชัดเจน)
การเขียนแผน
IEP
คัดแยกเด็กพิเศษ
ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ
จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด
เด็กสามารถทำอะไรได้
/ เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
แล้วจึงเริ่มเขียนแผน
IEP
(การเขียนแผน IEP
จะต้องผ่านกับเด็กพิเศษมาอย่างน้อย 1
เทอม
และจะต้องสังเกต และจดบันทึก อย่างสม่ำเสมอ)
IEP ประกอบด้วย
ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
เป้าหมายระยะยาวประจำปี
/ ระยะสั้น
ระบุวัน
เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
วิธีการประเมินผล
ประโยชน์ต่อเด็ก
ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ
ประโยชน์ต่อครู
เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ
ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล
เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก
มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน
ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
การรวบรวมข้อมูล
รายงานทางการแพทย์
รายงานการประเมินด้านต่างๆ
บันทึกจากผู้ปกครอง
ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น แพทย์ เจ้าหน้าที่เด็กพิเศษ ผู้บริหาร
(ต้องสอบถามทางโรงพยาบาล
ข้อมูลการรักษาเพื่อเป็นข้อมูลในการเขียนแผน IEP)
การจัดทำแผน
ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการเขียนแผน IEP
ผู้ปกครอง
แพทย์ ครู ผู้เชี่ยวชาญ
ผู้บริหาร
การกำหนดจุดมุ่งหมาย
ระยะยาว
ระยะสั้น
จุดมุ่งหมายระยะยาว
กำหนดให้ชัดเจน
แม้จะกว้าง
น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้
น้องดาวร่วมมือกับผู้อื่นได้ดี
น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นๆได้
จุดมุ่งหมายระยะสั้น
(จะบอกเป็นพฤติกรรมเด็กเลย)
จดบันทึกพฤติกรรมเด็ก และระยะสั้น
1 เดือนจะต้องเห็นผล
ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก
เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ
2-3
วัน หรือ 2-3 สัปดาห์
เช่น
น้องต้องจับช้อนได้
ต้องมี
4
หัวข้อนี้
1.
จะสอนใคร
2.
พฤติกรรมอะไร (สอนอะไร)
3.
เมื่อไร ที่ไหน
(ททที่พฤติกรรมนั้นจะเกิด)
4.
พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน
ตัวอย่าง เช่น
ใคร
อรุณ
อะไร
กระโดดขาเดียวได้
เมื่อไร
/ ที่ไหน กิจกรรมกลางแจ้ง
ดีขนาดไหน
กระโดดได้ขาละ 5 ครั้ง ในเวลา 30
วินาที
ใคร
ธนภรณ์
อะไร
นั่งเงียบๆโดยไม่พูดคุย
เมื่อไร
/ ที่ไหน ระหว่างครูเล่านิทาน
ดีขนาดไหน
ช่วงเวลาการเล่านิทาน 10-15 นาที เป็นเวลา
5 วันติดต่อกัน
การใช้แผนทุกครั้ง (อย่าลืมย่อยงานเด็ก)
เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์
ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น
นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
จัดเตรียมสื่อและกิจกรรมการเรียนการสอน
ต้องมีการสังเกตรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามารถ
โดยคำนึงถึง
1. ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ
2. ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
3. อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก
1. ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ
2. ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
3. อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก
การประเมินผล
โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง
หรือย่อยกว่านั้น
** การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรมอาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน
**
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
ความรู้ที่ได้รับจากการให้ความรู้ของอาจารย์ในการเขียนแผน IEP เป็นความรู้ที่มีคุณค่ามหาศาล ถึงภายอนาคตข้างหน้าจะได้ใช้หรือไม่ได้ใช้ก็ตามแต่เป็นความรู้ที่มีคุณค่ามากที่สุด การเขียนแผน IEP จะเกิดประโยชน์เมื่อได้ใช้และเห็นผลจริง ความรู้ที่ได้รับเป็นสิ่งที่ดีต่อเด็กและต่ออาชีพครูเป็นอย่างมาก
1. ผู้สอนใช้เทคนิคในการให้ความรู้นักศึกษาจากประสบการณ์ของอาจารย์
การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการสอน
1.โปรแจคเตอร์
2.ไมโคโฟน
3.คอมพิวเตอร์ PC
4. Microsoft Office PowerPoint (โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล แผน IEP)
5. Microsoft Office Word ( (การเขียนแผน IEP) )
5. Microsoft Office Word ( (การเขียนแผน IEP) )
การประเมินในชั้นเรียน
วันนี้ผมแต่งกายเรียนร้อย
ถูกระเบียบเหมือนทุกๆวัน ตามข้อตกลงของห้องเรียน
มาเรียนตรงต่อเวลา วันนี้อาจารย์สอนการเขียนแผน IEP
ตั้งใจฟังอาจารย์บรรยายและให้ความรู้ในการเขียนแผน IEP
เป็นอย่างดี ตอนแรกอาจจะไม่เข้าใจบ้างแต่ก็ถามอาจารย์ให้เข้ามากยิ่งขึ้น
ประเมินเพื่อน
วันนี้เพื่อนแต่งกายเรียบร้อย
ตั้งใจฟังอาจารย์บรรยายการให้ความรู้ในการเขียนแผน IEP
เป็นอย่างดี
เพื่อนไม่คุยกันเวลาอาจารย์สอนหรือให้ความรู้ในการเขียนแผนเฉพาะบุคคล IEP
เพื่อให้ความร่วมมือในการฟังอาจารย์บรรยายเป็นอย่างดีในวันนี้
เพื่อนมีความตั้งใจในการเขียนแผนเฉพาะบุคคลมาก
วันนี้อาจารย์แต่งกายเรียบร้อย
น่ารักเหมือนทุกๆวัน
อาจารย์มีกิจกรรมให้นักศึกษาเล่นก่อนเข้าสูบทเรียน เพื่อคลายเครียด
เพื่อสร้างความสุข ความสนุกสนาน และความอบอุ่น
อาจารย์สอนเข้าใจมากในการให้ความรู้ในการเขียนแผนเฉพาะบุคคล IEP
ทำให้นักศึกษาเข้าใจมาก
วันนี้อาจารย์สอนสนุกเหมือนทุกๆวัน ขอบคุณอาจารย์ที่ให้ความรู้
ความเข้าใจ ความรัก และความอบอุ่นในทุกๆวัน ให้ทั้งคำแนะนำในทุกๆเรื่อง
ขอขอบคุณอาจารย์ที่ให้ความรู้มาโดยตลอด ขอบคุณครับ
วันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558
บัททึกอนุทินครั้งที่ 13
บันทึกอนุทินครั้งที่ 13
วันที่ 8 เมษายน 2558
เวลาเรียน 08:30 - 12 : 20 น.
ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
กิจกรรมที่
1 กิจกรรมร้องเพลง
กิจกรรมในวันนี้เป็นกิจกรรมร้องเพลงอาจารย์แจกใบเพลงให้นักศึกษาคนละ 1
แผ่น
เพลง นกกระจิบ
นั่นนก บินมาลิบลิบ นกกระจิบ 1 2 3 4 5
อีกฝูง บินล่องลอยมา 6 7 8 9 10 ตัว
อีกฝูง บินล่องลอยมา 6 7 8 9 10 ตัว
ผู้แต่ง อ.ศรีนวล รัตนสุวรรณ
เพลง เที่ยวท้องนา
ฉันท่องเที่ยวไป ผ่านตาม
ท้องไร่ ท้องนา
เห็นฝูงวัวกินหญ้า 1
2 3 4 5 ตัว
หลงเที่ยว เพลิดเพลิน ฉันเดิน
พบอีก ฝูงวัว
นับนับดูจนทั่ว 6 7 8 9 10 ตัว
ผู้แต่ง อ.ศรีนวล รัตนสุวรรณ
เพลง แม่ไก้ออกไข่
แม่ไก่ออกไข่วันละฟอง ไข่วันละฟอง ไข่วันละฟอง
แม่ไก่ ของฉันไข่ ทุกวัน 1 วัน ได้ไข่ 1 ฟอง
ผู้แต่ง อ.ศรีนวล รัตนสุวรรณ
เพลง ลูกแมวสิบตัว
ลูกแมว 10 ตัว ที่ฉันเลี้ยงไว้
น้องขอให้ แบ่งไป 1 ตัว
ลูกแมว 10 ตัว ก็เหลือน้อยลงไป
นับดูใหม่ เหลือลูกแมว 9 ตัว
ผู้แต่ง อ.ศรีนวล รัตนสุวรรณ
เพลง ลุงมาชาวนา
ลุงมา ชาวนา เลี้ยงวัว เลี้ยงควาย
เอา ไว้ใช้ ไถนา
ลุงมา ชาวนา เลี้ยงหมา เลี้ยงแมว
ไว้ เป็นเพื่อน ลุงมา
* หมาก็เห่า บ๊อก บ๊อก
แมวก็ร้อง เมี๊ยว เมี๊ยว
ลุงมา ไถนา วัวร้อง มอ มอ
ผู้แต่ง อ.ศรีนวล รัตนสุวรรณ
กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมเข้าสู่บทเรียน
ทักษะพื้นฐานทางการเรียน
ทักษะพื้นฐานทางการเรียน
เป้าหมาย
การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้
มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
เด็กรู้สึกว่า “ฉันทำได้” (สำคัญที่สุด)
พัฒนาความกระตือรือร้น
อยากรู้อยากเห็น
อยากสำรวจ อยากทดลอง
ช่วงความสนใจ
ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ
จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร
การเลียนแบบ เป็นสิ่งสำคัญที่สุดของเด็กพิเศษ
การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่
เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่
เวลาสั่งสั่งทีละเรื่อง
การรับรู้
การเคลื่อนไหว
ได้ยิน
เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น --------->> ตอบสนองอย่างเหมาะสม
การควบคุมกล้ามเนื้อ
การกรอกน้ำ
ตวงน้ำ
ต่อบล็อก
ศิลปะ
มุมบ้าน
ช่วยเหลือตนเอง
ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ
(ชิ้นใหญ่ มีน้ำหนัก)
ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่
รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก
ความจำ
จากการสนทนา
เมื่อเช้าหนูทานอะไรคะ
แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
จำตัวละครในนิทาน
จำชื่อครู
เพื่อน
เล่นเกมทายของที่หายไป
ทักษะคณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์
นับขั้น
รูปเราขาคณิต
มิติสัมพันธ์
บน-ล่าง
การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
จัดกลุ่มเด็ก
เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
บันทึกว่าเด็กชอบอะไรมากที่สุด
รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
พูดในทางที่ดี
จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว
ทำบทเรียนให้สนุก
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
ความรู้ที่ได้รับในวันนี้ของทักษะพื้นฐานทางการเรียนรู้ของเด็กพิเศษ เด็กพิเศษควรได้รับการส่งเสริมอย่างยิ่ง และสอดแทรกความรู้เข้าในกิจกรรมเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ และความรู้จากการร้องเพลงทีี่สามารถนำไปสอนและสอดแทรกกิจกรรม
1. ผู้สอนใช้เทคนิคในการสอนโดยการให้นักศึกษานั่งเป็นแถวตัว U
2. อาจารย์สอนร้องเพลงให้ถูกทำนองเพลง โดยการให้จังหวะ
2. อาจารย์สอนร้องเพลงให้ถูกทำนองเพลง โดยการให้จังหวะ
การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการสอน
1.โปรแจคเตอร์
2.ไมโคโฟน
3.คอมพิวเตอร์ PC
4. Microsoft Office PowerPoint (ทักษะพื้นฐานของกานเรียนรู้)
การประเมินในชั้นเรียน
วันนี้ผมแต่งกายเรียนร้อย ถูกระเบียบเหมือนทุกๆวัน ตามข้อตกลงของห้องเรียน มาเรียนตรงต่อเวลา วันนี้อาจารย์สอนเกี่ยวกับทักษะพื้นฐานทางการเรียนรู้ของเด็กพิเศษ ตั้งใจฟังอาจารย์บรรยายและให้ความรู้นอกเหนือจากตำรา ตั้งใจจดความรู้เพิ่มเติม
ประเมินเพื่อน
วันนี้เพื่อนแต่งกายเรียบร้อย เพื่อนตั้งใจฟังอาจารย์ในการบรรยายให้ความรู้ เพื่อนตั้งใจจดความรู้ที่อาจารย์ให้เพิ่มเติมเป็นอย่างดี แต่ก็มีเพื่อนที่ไม่ตั้งใจฟังอาจารย์ในการบรรยายให้ความรู้ของอาจารย์
วันนี้อาจารย์แต่งกายเรียบร้อย น่ารักเหมือนทุกๆวัน อาจารย์มีกิจกรรมให้นักศึกษาได้คลายความเครียดก่อนเข้าสู่บทเรียน อาจารย์ให้ความรู้เกี่ยวกับทักษะพื้นฐานทางการเรียนรู้ของเด็กพิเศษ อาจารย์ให้ความรู้แน่นมาก และอาจารย์ยังได้เล่าประสบการณ์เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เพิ่มขึ้น และอธิบายเนื้อหาให้นักศึกษาเข้าใจอย่างละเอียด อาจารย์ให้ความรู้ ความรัก คำแนะนำต่างๆในการเรียน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)