วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย EAED3214 3(2-2-5) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557
วันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2558
บันทึกกอนุทินครั้งที่ 16
บันทึกอนุทินครั้งที่ 16
วันที่ 1 พฤษภาคม 2558
เวลาเรียน 08:30 - 12 : 20 น.
ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
บรรยากาศในการเรียนวันสุดท้าย
วันนี้อาจารย์นัดให้นักศึกษาสอบร้องเพลงสำหรับเด็กปฐมวัย
วันนี้จับสลากได้เพลง
เพลง ลุงมาชาวนา
ลุงมา ชาวนา เลี้ยงวัว เลี้ยงควาย
เอา ไว้ใช้ ไถนา
ลุงมา ชาวนา เลี้ยงหมา เลี้ยงแมว
ไว้ เป็นเพื่อน ลุงมา
* หมาก็เห่า บ๊อก บ๊อก
แมวก็ร้อง เมี๊ยว เมี๊ยว
ลุงมา ไถนา วัวร้อง มอ มอ
ผู้แต่ง อ.ศรีนวล รัตนสุวรรณ
สอบร้องเพลงได้
5 คะแนน
บรรยากาศในการเรียนวันนี้มีความสุขมาก ได้ทั้งเสียงหัวเราะ
ความสนุก ความสุขของเพื่อนๆ วันนี้เพื่อนๆสอบอย่างมีความสุข
อาจารย์ก็ใจดีมาก วันนี้อาจารย์แจกของขวัญสำหรับเด็กดีด้วย
ผมคือ 1 ในนั้นที่ได้รับรางวัลเด็กดี
ด้วยคะแนน 16 ดวง
อาจารย์ให้นักศึกษาสอบอย่างมีความสุข
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
ความรู้ที่ได้รับจากการร้องเพลงของเพื่อนและทำนองจังหวะของอาจารย์ จะนำประสบการณ์ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการสอนเด็ก และการเก็บเด็ก สามารถนำเพลงไปร้องในกิจกรรมต่างๆ เพลงแต่ละกิจกรรมให้สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้ และเพลงสามารถนำไปสอดแทรกกิจกรรมได้ กิจกรรมนันทนาการร้องเพลงก็สามารถบำบัดเด็กพิเศษได้ จะนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับตัวเด็กมากที่สุด
ผู้สอนได้ใช้เทคนิคในการสอน
1. ผู้สอนใช้เทคนิคในการสอบร้องเพลงสำหรับเด็กปฐมวัย ด้วยการจับสลากหมายเลขของนักศึกษา แล้วให้นักศึกษาจับสลากเพลงเอง
3. อาจารย์ให้นักศึกษาสอบร้องเพลงเดี่ยวหน้าชั้นเรียน
การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการสอน
1. ไมโคโฟน
การประเมินในชั้นเรียน
วันนี้ผมแต่งกายเรียนร้อย ถูกระเบียบเหมือนทุกๆวัน ตามข้อตกลงของห้องเรียน มาเรียนตรงต่อเวลา วันนี้เป็นวันสอบร้องเพลงสำหรับเด็กปฐมวัย วันนี้เครียมความพร้อมในการร้องเพลงมาเป็นอย่างดี จำมาทุกเพง ร้องได้ทุกเพลง เพื่อให้การสอบในครั้งนี้ได้คะแนนดี
ประเมินเพื่อน
วันนี้เพื่อนเตรียมความร้อมในการสอบร้องเพลงสำหรับเด็กปฐมวัยมาเป็นอย่างดี เพื่อนตั้งใจร้องเพลงในการสอบครั้งนี้มาก ในการสอบวันนี้ได้ทั้งเสียงหัวเราะของเพื่อน ได้ทั้งความสุข ความสนุกสนาน วันนี้เพื่อนในห้องสอบกันอย่างมีความสุข
ประเมินอาจารย์
วันนี้อาจารย์นัดสอบร้องเพลงสำหรับเด็กปฐมวัย วันนี้มีความสุขมาก อาจารย์ให้สอบเดี่ยววันนี้เห็นอาจารย์ยิ้ม หัวเหราะ อย่างมีความสุขในการได้ฟังเพลงของห้องเรา วันนี้อาจารย์แจกของรางวัลให้กับนักศึกษาด้วย รางวัลเด็กดี อาจารย์ให้ความรู้มาโดยตลอด ให้ทั้งความรัก ความสุข อาจารย์เป็นพ่อแม่คนที่ 2 ที่ให้ความรักความอบอุ่นทุกครั้ง อาจารย์ให้คำแนะนำและเป็นที่ปรึกษาที่ดีมาโดยตลอดรักตลอดไป 1 ในร้อย
บันทึกอนุทินครั้งที่ 15
บันทึกอนุทินครั้งที่ 15
วันที่ 22 เมษายน 2558
เวลาเรียน 08:30 - 12 : 20 น.
ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
กิจกรรมที่
2 เข้าสู่บทเรียน
โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล แผน IEP
แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน
และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา
ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
โดยระบุเวลาเริ่มต้นให้และสิ้นสุดในการใช้แผนและวิธีการวัดและประเมินผลเด็ก (ควรระบุให้ชัดเจน)
การเขียนแผน
IEP
คัดแยกเด็กพิเศษ
ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ
จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด
เด็กสามารถทำอะไรได้
/ เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
แล้วจึงเริ่มเขียนแผน
IEP
(การเขียนแผน IEP
จะต้องผ่านกับเด็กพิเศษมาอย่างน้อย 1
เทอม
และจะต้องสังเกต และจดบันทึก อย่างสม่ำเสมอ)
IEP ประกอบด้วย
ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
เป้าหมายระยะยาวประจำปี
/ ระยะสั้น
ระบุวัน
เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
วิธีการประเมินผล
ประโยชน์ต่อเด็ก
ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ
ประโยชน์ต่อครู
เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ
ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล
เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก
มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน
ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
การรวบรวมข้อมูล
รายงานทางการแพทย์
รายงานการประเมินด้านต่างๆ
บันทึกจากผู้ปกครอง
ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น แพทย์ เจ้าหน้าที่เด็กพิเศษ ผู้บริหาร
(ต้องสอบถามทางโรงพยาบาล
ข้อมูลการรักษาเพื่อเป็นข้อมูลในการเขียนแผน IEP)
การจัดทำแผน
ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการเขียนแผน IEP
ผู้ปกครอง
แพทย์ ครู ผู้เชี่ยวชาญ
ผู้บริหาร
การกำหนดจุดมุ่งหมาย
ระยะยาว
ระยะสั้น
จุดมุ่งหมายระยะยาว
กำหนดให้ชัดเจน
แม้จะกว้าง
น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้
น้องดาวร่วมมือกับผู้อื่นได้ดี
น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นๆได้
จุดมุ่งหมายระยะสั้น
(จะบอกเป็นพฤติกรรมเด็กเลย)
จดบันทึกพฤติกรรมเด็ก และระยะสั้น
1 เดือนจะต้องเห็นผล
ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก
เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ
2-3
วัน หรือ 2-3 สัปดาห์
เช่น
น้องต้องจับช้อนได้
ต้องมี
4
หัวข้อนี้
1.
จะสอนใคร
2.
พฤติกรรมอะไร (สอนอะไร)
3.
เมื่อไร ที่ไหน
(ททที่พฤติกรรมนั้นจะเกิด)
4.
พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน
ตัวอย่าง เช่น
ใคร
อรุณ
อะไร
กระโดดขาเดียวได้
เมื่อไร
/ ที่ไหน กิจกรรมกลางแจ้ง
ดีขนาดไหน
กระโดดได้ขาละ 5 ครั้ง ในเวลา 30
วินาที
ใคร
ธนภรณ์
อะไร
นั่งเงียบๆโดยไม่พูดคุย
เมื่อไร
/ ที่ไหน ระหว่างครูเล่านิทาน
ดีขนาดไหน
ช่วงเวลาการเล่านิทาน 10-15 นาที เป็นเวลา
5 วันติดต่อกัน
การใช้แผนทุกครั้ง (อย่าลืมย่อยงานเด็ก)
เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์
ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น
นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
จัดเตรียมสื่อและกิจกรรมการเรียนการสอน
ต้องมีการสังเกตรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามารถ
โดยคำนึงถึง
1. ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ
2. ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
3. อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก
1. ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ
2. ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
3. อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก
การประเมินผล
โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง
หรือย่อยกว่านั้น
** การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรมอาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน
**
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
ความรู้ที่ได้รับจากการให้ความรู้ของอาจารย์ในการเขียนแผน IEP เป็นความรู้ที่มีคุณค่ามหาศาล ถึงภายอนาคตข้างหน้าจะได้ใช้หรือไม่ได้ใช้ก็ตามแต่เป็นความรู้ที่มีคุณค่ามากที่สุด การเขียนแผน IEP จะเกิดประโยชน์เมื่อได้ใช้และเห็นผลจริง ความรู้ที่ได้รับเป็นสิ่งที่ดีต่อเด็กและต่ออาชีพครูเป็นอย่างมาก
1. ผู้สอนใช้เทคนิคในการให้ความรู้นักศึกษาจากประสบการณ์ของอาจารย์
การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการสอน
1.โปรแจคเตอร์
2.ไมโคโฟน
3.คอมพิวเตอร์ PC
4. Microsoft Office PowerPoint (โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล แผน IEP)
5. Microsoft Office Word ( (การเขียนแผน IEP) )
5. Microsoft Office Word ( (การเขียนแผน IEP) )
การประเมินในชั้นเรียน
วันนี้ผมแต่งกายเรียนร้อย
ถูกระเบียบเหมือนทุกๆวัน ตามข้อตกลงของห้องเรียน
มาเรียนตรงต่อเวลา วันนี้อาจารย์สอนการเขียนแผน IEP
ตั้งใจฟังอาจารย์บรรยายและให้ความรู้ในการเขียนแผน IEP
เป็นอย่างดี ตอนแรกอาจจะไม่เข้าใจบ้างแต่ก็ถามอาจารย์ให้เข้ามากยิ่งขึ้น
ประเมินเพื่อน
วันนี้เพื่อนแต่งกายเรียบร้อย
ตั้งใจฟังอาจารย์บรรยายการให้ความรู้ในการเขียนแผน IEP
เป็นอย่างดี
เพื่อนไม่คุยกันเวลาอาจารย์สอนหรือให้ความรู้ในการเขียนแผนเฉพาะบุคคล IEP
เพื่อให้ความร่วมมือในการฟังอาจารย์บรรยายเป็นอย่างดีในวันนี้
เพื่อนมีความตั้งใจในการเขียนแผนเฉพาะบุคคลมาก
วันนี้อาจารย์แต่งกายเรียบร้อย
น่ารักเหมือนทุกๆวัน
อาจารย์มีกิจกรรมให้นักศึกษาเล่นก่อนเข้าสูบทเรียน เพื่อคลายเครียด
เพื่อสร้างความสุข ความสนุกสนาน และความอบอุ่น
อาจารย์สอนเข้าใจมากในการให้ความรู้ในการเขียนแผนเฉพาะบุคคล IEP
ทำให้นักศึกษาเข้าใจมาก
วันนี้อาจารย์สอนสนุกเหมือนทุกๆวัน ขอบคุณอาจารย์ที่ให้ความรู้
ความเข้าใจ ความรัก และความอบอุ่นในทุกๆวัน ให้ทั้งคำแนะนำในทุกๆเรื่อง
ขอขอบคุณอาจารย์ที่ให้ความรู้มาโดยตลอด ขอบคุณครับ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)