บันทึกอนุทินครั้งที่ 6
วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2558
ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
กิจกรรมที่ 1 รถไฟเหาะแห่งชีวิตและม้าหมุน
คุณเดินเข้าประตูสวนสนุก และเห็นรถไฟเหาะอยู่ตรงหน้า โดยมีคนเข้าแถวเพื่อขึ้นรถไฟเหาะอยู่ คุณจะรออยู่ในแถวนานเท่าไหร่ ?
ในที่สุดก็ถึงตาคุณแล้ว ขณะที่คุณกำลังหมุนและขึ้นลงไปตามราง ความเร็วทำให้คุณรู้สึกอะไร ?
จุดที่ตื่นเต้นที่สุดของรถไฟเหาะนี้ก็คือ เวลาที่รถไฟพุ่งดึ่งลงไปในสระน้ำ คุณเปียกโชกไปด้วยน้ำที่กระเซ็นเข้ามา ?
รถไฟเหาะที่คุณพึ่งเล่นมานั้นนับว่าตื่นเต้นไม่เบา แต่มันอาจจะดีได้มากกว่านั้น ถ้าคุณสามารถออกแบบรถไฟเหาะที่สมบูรณ์แบบ
สำหรับตัวคุณเอง คุณจะออกแบบเส้นทางของรถไฟเหาะอย่างไร ?
หมายเหตุ :
วาดรูปโดยละเอียด
คุณตัดสินใจที่จะเล่นม้าหมุนต่อ แต่ขณะที่คุณกำลังนั่งอยู่บนม้าหมุนนั้น
ม้าตัวที่คุณนั่งเกิดขัดข้องและหยุดหมุนขึ้นมากะทันหัน คุณจะพูดกับม้าตัวนั้นว่าอย่างไร ?
หลังจากนั้นอาจารย์ก็เฉลยคำตอบจากกิจกรรม
กิจกรรมที่
2 กิจกรรมเข้าสู่บทเรียน
การส่งเสริมทักษะต่างของเด็กพิเศษ
ทักษะที่จำเป็นต่อเด็กพิเศษ ได้แก่
ทักษะทางสังคม ทักษะการใช้ชีวิต ทักษะทางภาษา
ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
1.
ทักษะทางสังคม
เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากพ่อแม่
การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข
เด็กออทิสติก ขากทักษะทางสังคมมาก
ทักษะทางสังคมจะดีหรือไม่ดีอยู่ที่ตัวเด็ก สภาพแสดล้อมมีผลเพียงนิดเดียว
ควรส่งเสริมเน้นที่ตัวเด็กพิเศษ
กิจกรรมการเล่น
การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
เด็กจะสนใจตัวเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ
ยุทธศาสตร์การสอน
เด็กพิเศษหลายคนไม่รู้จักวิธีเล่น ไม่รู้ว่าจะเล่นอะไร
ครูเริ่มจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง
ครูจดบันทึก
อย่างลืมจดบันทึกอย่างเป็นระบบ
อย่างต่อเนื่อง
ทำแผน IEP
การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
การวางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง ต้องมีกิจกรรมหลายๆ อย่างเด็กจะมีทางเลือกที่จะเล่นตามความสนใจของเด็ก เด็กพิเศษจะเลือกกิจกรรมที่เขาสนใจมากที่สุดและกิจกรรมทุกกิจกรรมจะต้องคำนึงถึงตัวเด็ก
คำนึงถึงเด็กทุกๆคน
ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ
2
– 4 คน
เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน
“ครู” ให้เด็กพิเศษ
ปกติด้วยในการจัดกิจกรรม
เด็กพิเศษครูมีหน้าที่ให้การเสริมแรง
ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
ยิ้มและพยักหน้าให้
ถ้าเด็กหันมาหาครู
ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป
เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม
เพื่อยืดเวลาการเล่น
ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม
ไม่ควรให้อุปกรณ์การเล่นเท่ากับจำนวนเด็ก
การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน
ทำโดย “การพูดนำของครู”
ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์
การให้โอกาสเด็ก
เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่างๆเหมือนเพื่อนในห้อง ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กพิเศษเป็นเครื่องต่อรอง
POST
TEST
ครูสามารถสิ่งเสริมทักษะทางสังคมในห้องเรียนรวมได้อย่างไรบ้าง
กิจกรรมที่
3 กิจกรรมดนตรีบำบัดด้วยจุด
กิจกรรมดนตรีบำบัดด้วยจุดเป็นกิจกรรมที่บำบัดได้จริงกับเด็กพิเศษ อาจารย์ให้จับครูกับเพื่อน โดยให้
1 คนเป็นคนวาดเส้น และให้อีกคนเป็นคนทำจุด
โดยผู้วาดนั้นจะต้องวาดอย่างต่อเนื่องโดยไม่หยุดไม่ยกมือ โดยให้คนที่จุดทำจุดในเส้นที่เป็นวงกลมทุกวง เมื่อเพลงจบให้หยุดทันที แล้วให้จินตนาการรูปภาพจากผลงาน แล้วระบายสี
กิจกรรมที่
4 กิจกรรมร้องเพลงสำหรับเด็ก
(เพลง ดวงอาทิตย์)
ยามเช้าตรู่อาทิตย์ทอแสงทอง
เป็นประกายเรืองรอง ผ่องนภา
ส่องสว่างไปทั่วแหล่งหล้า บ่งเวลาว่ากลางคืน
ผู้แต่ง อ.ศรีนวล รัตนสุวรรณ
(เพลง ดวงจันทร์)
ดวงจันทร์ทอแสงนวลใย
สุกใสอยู่ในท้องฟ้า
เราเห็นดวงจันทรา
แสงพราวตาเวลาค่ำคืน
(เพลง ดอกมะลิ)
ดอกมะลิ กลีบขาวพราวตา
เก็บเอามาร้อยเป็นมาลัย
บูชาพระทั้งใช้ทำยาก็ได้
ลอยในน้ำ อบขนมหอมชื่นใจ
ผู้แต่ง อ.ศรีนวล รัตนสุวรรณ
(เพลง ดอกกุกลาบ)
กุหลาบงาม ก้านหนามแหลมคม
จะเด็ดดมระวังกายา
งามสดสีสมเป็นดอกไม้มีค่า
เก็บเอามาประดับไว้ในเจกัน
ผู้แต่ง อ.ศรีนวล รัตนสุวรรณ
(เพลง นกเขาขัน)
ฟังสิฟังนกเขาขันมันขยันขันคู
ฟังสิฟังนกเขาขันมันขยันขันคู
จุ๊กกรู จุ๊กกรู
จุ๊กกรู จุ๊กกรู จุ๊กกรู
ผู้แต่ง อ.ศรีนวล รัตนสุวรรณ
รำวง รำวง
ร่วมใจ
หอมดอกมะลิที่ร้อยมาลัย
กลิ่นหอมตามลมไปไกล
หอมกลิ่นชื่นใจ จริงเอย
ผู้แต่ง อ.ศรีนวล รัตนสุวรรณ
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
ความรู้ที่ได้รับในวันนี้หากไม่นำไปใช้จะไม่เกิดประโยชน์อันใดต่อเด็กในอนาคต เพราะว่าถ้าไม่นำความรู้ที่ได้รับมาไปปฏิบัติใช้ จะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใดต่อสังคมเลย
ผู้ศึกษาจะนำความรู้ที่ได้รับในวันนี้ไปใช้ในอนาคตข้างหน้าในการปฏิบัติการสอน เพื่อพัฒนาและส่งเสริมเด็กปกติและเด็กพิเศษให้ได้ผลมากที่สุด การส่งเสริมทักษะทางสังคมเป็นทักษะที่สำคัญที่สุดของเด็กพิเศษ ในการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนและคุณครู
และการนำกิจกรรมหลายๆกิจกรรมมาจัดกิจกรรมให้กับเด็กให้เด็กเลือกกิจกรรมตามความสนใจของเด็ก และต้องส่งเสริมทักษะทางสังคมให้เด็กมากที่สุด ฃเพลงและนันทนาการเป็นสิ่งสำคัญในการทำกิจกรรมต่างๆ และสามารถส่งเสริมให้เด็กมีทักษะทางสังคมได้เป้นอย่างดี กิจกรรมนันทนาการเป็นกิจกรรมที่ให้เด็กได้ผ่อนคลายความเครียดให้เด็กได้ร้อง ได้เต้น
ได้กล้าแสดงออกและมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนและคุณครู
ผู้สอนได้ใช้เทคนิคในการสอน
1. ผู้สอนใช้เทคนิคการจัดโต๊ะเป็นตัว U ในการสอนในชั้นเรียนเพื่อให้เห็นเด็กนักศึกษาครบทุกคนและสามารถเดินหาเด็กได้ทุกคน
2. อาจารย์ให้จับคู่กับเพื่อนทำกิจกรรม
(กิจกรรมดนตรีบำบัดด้วยจุด)
3. ผู้สอนร้องนำ แล้วให้นักศึกษาร้องเพลงร่วมกัน
1.โปรแจคเตอร์
2.ไมโคโฟน
3.คอมพิวเตอร์
PC
4. Microsoft Office PowerPoint
(การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ (ทักษะทางสังคม) )
5. ดนตรี (กิจกรรมดนตรีบำบัดด้วยจุด)
ประเมินตัวเอง
วันนี้ผมแต่งกายเรียนร้อย ถูกระเบียบเหมือนทุกๆวัน ตามข้อตกลงของห้องเรียน มาเรียนตรงต่อเวลา ไม่เคยมาเรียนสาย กิจรรมที่
1 เป็นกิจกรรมที่มีความสุขมากก่อนเข้าสู่บทเรียนเพื่อให้นักศึกษาได้ผ่อนคลายความเครียดก่อนข้าสู่บทเรียน ต่อด้วยกิจกรรมที่2 เป็นกิจกรรมเข้าสู่บทเรียน
เป็นกิจกรรมที่ให้ความรู้เกี่ยวกับเด็กพิเศษเรียนรวม ได้รับความรู้อย่างมาก ตั้งใจฟังอาจารย์บรรยาย และให้ความรู้เพิ่มจากเนื้อหา มีส่วนร่วมในการตอบคำถามของอาจารย์เป็นอย่างดี ต่อมาด้วยกิจกรรมที่ 3
เป็นกิจกรรมที่สามารถบำบัดได้จริงและเป็นกิจกรรมที่สามารถทำให้นักศึกษาผ่อนคลายความเรียนได้จริง ด้วยเพลงเบาๆ
ในการทำกิจกรรมเพื่อการบำบัด และยังส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ และจินตนาการของเด็กอีกด้วยในการทำกิจกรรม กิจกรรมที่ 4 เป็นกิกรรมที่มีความสุขมากในการร้องเพลงทำให้เราได้ฝึกร้องเพลงอย่างถูต้อง วันนี้เรียนมีความสุขมาก
ประเมินเพื่อน
วันนี้เพื่อนก็มาเรียนสายไม่กี่คน เพื่อนตั้งใจทำกิจกรรม และตั้งใจฟังอาจารย์บรรยายให้ความรู้เพิ่มเติมเป็นอย่างดี และยังมีเพื่อนที่ไม่ตั้งใจฟังอาจารย์อยู่ส่วนน้อยถือเป็นสิ่งที่ไม่ดีไม่ควรเอาเป็นเยี่ยงอย่าง เพื่อตั้งใจทำกิจกรรมเป็นอย่างดี
เพื่อนทำกิจกรรมบำบัดด้วยจุดได้สวยทุกกลุ่ม มีความคิดสร้างสรรค์ มีจินตนาการดี
และเพื่อนๆยังช่วยกันร้องเพลงอย่างมีความสุข